วัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรวิหาร สร้างขึ้นสมัยรัชกาลที่ ๓ เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๙๐ เพื่อถวายพระอัยกา พระอัยกีและสมเด็จพระราชชนนี สร้างแล้วเสร็จในสมัยรัชกาลที่ ๔ สถาปัตยกรรมในวัดที่น่าสนใจได้แก่
หลังคา มุงด้วยกระเบื้องรางดินเผาชนิดกาบกล้วยไม่เคลือบสี ถือปูนทับแนวทำเป็นลอนลูกฟูกแบบเก๋งจีน หน้าบันประดับด้วยกระเบื้องเคลือบสี สลับลวดลายใบดอกพุดตาน กระจังฐานพระ ช่อฟ้าใบระกา ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบสีสลับลายจากประเทศจีน ผนังด้านในเขียนสีลายพุ่มข้าวบิณฑ์ก้านแย่ง มีช่อดอกพุดตานภายใน เพดานลายฉลุปิดทองซุ้ม
บานประตูหน้าต่าง เขียนลายทองรดน้ำ กรอบประตูหน้าต่างประดับปูนปั้นยกดอกพุดตาน พื้นประดับกระจกส่วนด้านในของบานประตูหน้าต่างเขียนรูปกอบัว ดอกบัว นก และสัตว์น้ำ
พระประธาน ในพระอุโบสถวัดเฉลิมพระเกียรติเป็น พระพุทธรูปปางมารวิชัย หล่อด้วยทองแดงทั้งองค์ มีตำนานเล่าว่า ในสมัยรัชกาลที่ ๓ โปรดเกล้าฯ ให้ขุดแร่ทองแดงที่อำเภอจัณทึก จ.นครราชสีมา ได้แร่ถลุงเป็นเนื้อทองแดงมาก พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชประสงค์จะใช้ทองแดงนั้นให้เป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่พระพุทธศาสนาก่อน จึงโปรดเกล้าฯ ให้หล่อพระพุทธรูปซึ่งประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอาราม ซึ่งทรงสร้างใหม่ ๒ พระอาราม คือ วัดราชนัดดากับวัดเฉลิมพระเกียรติ และยังได้โปรดเกล้าฯ ให้หล่อพระพุทธรูปปางอื่นอีก ๓๔ ปางด้วย พระประธานนี้หล่อเสร็จเรียบร้อยเมื่อ พ.ศ. ๒๓๘๙ เฉพาะที่อัญเชิญไปประดิษฐานที่วัดราชนัดดานั้น เวลาชักเคลื่อนองค์พระไปวัดเกิดอาเพศตะเฆ่ (เครื่องลากเข็นของหนัก รูปเตี้ยๆ มีล้อ) ประดิษฐานพระไปทับเอาเจ้าพระยายมราช (บุญนาค) กับทนายอีก ๒ คน ตาย เมื่อถึงสมัยรัชกาลที่ ๔ พระองค์ถวายพระนามพระประธานว่า"พระพุทธมหาโลกาภินันทปฏิมา" ภายในพระวิหารหลวง หรือเรียกกันว่า วิหารพระศิลาขาว อยู่ด้านทิศใต้ของพระอุโบสถประดิษฐานพระประธานศิลา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญมาเมื่อพ.ศ. ๒๔๐๑ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย พร้อมด้วยพระอัครสาวกซ้ายขวาเป็นพระศิลานั่งพับเพียบซึ่งปัจจุบันเหลืออยู่เพียงองค์เดียว
วัดเฉลิมพระเกียรติยังมีถาวรวัตถุอื่นที่สำคัญเช่น การเปรียญหลวง อาคารแบบผสมระหว่างอาคารทรงไทยกับเครื่องบนหลังคาแบบจีนลักษณะเป็นตึกทรงโรงมีเสาอยู่ข้างใน ภายในประดิษฐานพระชัยวัฒน์ ซึ่งหาชมได้ยาก นอกจากนี้ยังมี กุฏิทรงไทย อยู่ด้านเหนือเขตพุทธาวาสจำนวน ๒๐ หลังเป็นเรือนไทยภาคกลางใต้ถุนสูง กำแพงแก้วและป้อมปราการ เป็นกำแพงก่ออิฐถือปูน มีใบเสมาเหมือนกับกำแพงพระบรมมหาราชวังมีป้อมปราการทั้งสี่มุม มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ และพระศรีมหาโพธิ์ ต้นโพธิ์พันธุ์พุทธคยาที่ได้มาสมัยรัชกาลที่ ๔
กุฏิเรือนไทย/สวนริมน้ำ
............................................................................
บริเวณหน้าร้านนัดพบ Restaurant
บรรยากาศโดยรอบ
อาหารแนะนำรับรองอร่อยทุกถ้วยทุกจานจริงๆ *ปลาตะเพียนต้มเค็ม...จานนี้ทีเด็ด (เนื่องจากผู้เขียนชอบ ๕๕๕) *ยำดอกแค...รสจัดจ้าน *แกงคั่วหอยขม...กลมกล่อมพอดี *ปลาเนื้ออ่อนลาดพริก...เครื่องแกงหอมมาก *แกงส้มดอกแคกุ้งสด...ครบ ๓ รส *ผัดสะตอกุ้งสด...เผ็ดโดนใจ *ต้มโคล้งปลากระทิง...หาทานยาก
นอกจากอาหารที่แนะนำเบื้องต้นแล้ว ทางร้านนัดพบยังมีอาหารไทยที่หาทานยากอีกหลายรายการทุกจานขอบอกว่าอร่อยไม่แพ้กัน ราคาอาหารก็ไม่แพงอย่างที่คิด ถูกปากถูกท้อง ถูกใจเรื่องราคา...ร้านนัดพบมีที่นั่งทานอาหาร ๒ แบบ ๒ Style ท่านใดที่ชอบบรรยากาศธรรมชาติก็นั่งทานด้านนอกแบบ outdoor ส่วนที่ชอบนั่งสบายคลายร้อนในห้องแอร์เย็นๆ แบบ indoor ก็มีบริการสำหรับทุกท่านเช่นกัน...ก่อนจบการพาชิมวันนี้ขอแถมรายการขนมหวานแสนอร่อยอีกสัก ๒ รายการ (ไม่ได้ลืมนะ) แต่ของดีต้องไว้ท้ายตลอดจะได้ไม่ลืมกันและรีบไปชิม *ข้าวตอก-ข้าวเม่าน้ำกะทิ...ขนมไทยโบราณแท้ๆ หอม หวาน มัน เย็นชื่นใจ *ข้าวเหนียวทุเรียน...ถ้วยนี้ทีเด็ดอีกเหมือนกัน เพราะเป็นทุเรียนเมืองนนท์แท้ๆ (ผู้เขียนชอบมาก...หุหุ)
ต้มโคล้งปลากระทิง
ข้าวเหนียวทุเรียน ข้าวตอก-ข้าวเม่าน้ำกะทิ
วันนี้หวังว่าทุกท่านคงมีความสุข ไม่น้อยไปกว่าต้นบุญ เพราะนอกจากจะได้รู้จักกับวัดที่เก่าแก่และสวยงามอิ่มบุญกันแล้ว ยังอิ่มท้องกับร้านอาหารดีดี อร่อยๆ กันอีกด้วย ครั้งหน้าต้นบุญจะพาไปเที่ยววัด และร้านอร่อยๆ ที่ไหนนั้น ต้องตามชมกันต่อไปนะจร้า...
วันนี้หวังว่าทุกท่านคงมีความสุข ไม่น้อยไปกว่าต้นบุญ เพราะนอกจากจะได้รู้จักกับวัดที่เก่าแก่และสวยงามอิ่มบุญกันแล้ว ยังอิ่มท้องกับร้านอาหารดีดี อร่อยๆ กันอีกด้วย ครั้งหน้าต้นบุญจะพาไปเที่ยววัด และร้านอร่อยๆ ที่ไหนนั้น ต้องตามชมกันต่อไปนะจร้า...
น่ากิน ๆๆๆๆๆๆ อ่ะ
ตอบลบ