๑. สถานะเดิม
พระอุบาลีเถระ นามเดิม อุบาลี เป็นนามที่ญาติทั้งหลายตั้งให้ หมายความว่า ประกอบด้วย กายและจิตใกล้ชิดกับกษัตริย์ทั้งหลาย เพราะออกไปบวชพร้อมกัน
บิดา และมารดาไม่ปรากฎนาม
เกิดในเรือนของช่างกัลบก ของศากยกษัตริย์ในนครกบิลพัสดุ์
๒. ชีวิตก่อนบวช
อุบาลีนั้น ครั้นเจริญวัยแล้วได้เป็นสหายรักแห่งกษัตริย์ทั้ง ๖ มีเจ้าอนุรุทธะเป็นต้น จึงได้รับ แต่งตั้งให้เป็นนายภูษามาลาประจำพระองค์
๓. การบวชในพระพุทธศาสนา
เมื่อพระศาสดาประทับอยู่ที่อนุปิยอัมพวันแห่งมัลลกษัตริย์ทั้งหลาย เมื่อพระโอรสของศากยกษัตริย์ทั้งหลายบวชกันเป็นจำนวนมาก เหล่าพระญาติเห็นศากยะ ๖ พระองค์เหล่านี้ คือ ภัททิยราชา อนุรุทธะ อานันทะ ภคุ กิมพิละ และเทวทัต ยังไม่ได้ออกบวช จึงสนทนากันว่า คนอื่นเขาให้ลูก ๆ บวชกัน คนจากตระกูลเรายังไม่ได้ออกบวชเลย เหมือนกับไม่ใช่ญาติของพระศาสดา ในที่สุดกษัตริย์ทั้ง ๖ จึงตัดสินพระทัยออกบวช โดยมีนายอุบาลีภูษามาลาตามเสด็จไปด้วย เมื่อเข้าสู่แว่นแคว้นกษัตริย์อื่น จึงให้นายอุบาลีกลับ นายอุบาลีกลับมาได้หน่อยหนึ่ง ได้ตัดสินใจบวชบ้าง แล้วได้ร่วมเดินทางไปกับ กษัตริย์ทั้ง ๖ นั้น จึงรวมเป็น ๗ คนด้วยกัน เข้าไปเฝ้าพระศาสดา ที่อนุปิยอัมพวัน กษัตริย์ทั้ง ๖ ได้กราบทูลว่า ของพระองค์โปรดบวชให้อุบาลีก่อน ข้าพระองค์ทั้งหลายจะได้ทำสามีจิกรรม มีการอภิวาทเป็นต้นแก่เขา วิธีนี้จะทำให้มานะของพวกข้าพระองค์ สร่างสิ้นไป พระศาสดาได้ทรงจัดการบวชให้พวกเขาตามประสงค์
๔. การบรรลุธรรม
พระอุบาลีเถระนั้น ครั้นบวชแล้ว เรียนกรรมฐานในสำนักพระศาสดาแล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์จงทรงอนุญาตให้ข้าพระองค์อยู่ป่า พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เมื่ออยู่ป่า ธุระอย่างเดียวเท่านั้นจักเจริญงอกงาม แต่เมื่ออยู่ในสำนักของเรา ทั้งวิปัสสนาธุระ และคันถธุระจะบริบูรณ์ พระอุบาลีนั้นรับพระดำรัสของพระศาสดาแล้ว กระทำวิปัสสนากรรมฐาน ไม่นานก็ได้บรรลุพระอรหัต
๕. งานประกาศพระพุทธศาสนา
พระศาสดาทรงสอนพระวินัยปิฎกทั้งสิ้นแก่พระอุบาลีนั้นด้วยพระองค์เอง ท่านจึงเป็นผู้ทรงจำ และชำนาญในพระวินัยปิฎก ครั้นพระศาสดาเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว ได้มีการทำสังคายนา พระธรรมวินัยครั้งแรกโดยมีพระมหากัสสปเถระเป็นประธาน พระสงฆ์ได้เลือกท่านเป็นผู้วิสัชชนา พระวินัยปิฎก ทำให้พระพุทธศาสนาดำรงมั่นคงมาจนถึงทุกวันนี้
๖. เอตทัคคะ
ดังได้กล่าวแล้วว่า พระอุบาลีเถระ ได้เรียนพระวินัยปิฎกทั้งหมดจากพระโอษฐ์ของพระศาสดา โดยตรง จึงมีความชำนาญในพระวินัย ท่านได้วินิจฉัยเรื่องภารุกัจฉะ เรื่องอัชชุกะ และเรื่องกุมารกัสสปะ ได้ถูกต้องตามธรรมวินัย เป็นเหตุให้พระศาสดาประทานสาธุการ และทรงถือเรื่องนั้นเป็นอัตถุปัตติเหตุ (เป็นต้นเรื่อง) แล้วทรงตั้งท่านไว้ในฐานะที่เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ผู้เป็นวินัยธร (ผู้ทรงพระวินัย)
๗. บุญญาธิการ
พระอุบาลีเถระนั้น ได้กระทำบุญญาธิการอันเป็นปัจจัยเกื้อกูลแก่พระนิพพานมานานแสนนาน จนกระทั่งถึงสมัยแห่งพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ ได้บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ อันสมบูรณ์ด้วยทรัพย์สมบัติ วันหนึ่งไปฟังธรรมของพระศาสดาได้เห็นพระศาสดาทรงตั้งภิกษุรูปหนึ่ง ไว้ในตำแหน่งที่เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ผู้ทรงพระวินัย ศรัทธา เลื่อมใส ปรารถนาฐานันดรนั้น จึงสร้างสมบุญกุศลตลอดมาหลายพุทธันดร สุดท้ายได้สมปรารถนาในพระศาสนาของพระสมณโคดม ศาสดาแห่งพุทธศาสนาในปัจจุบันนี้
๘. ธรรมวาทะ
ข้าแต่พระธีรเจ้า ในนครธรรมของพระองค์นั้นมีศีลเป็นดังกำแพง มีพระญาณเป็นดังซุ้มประตู ศรัทธาเป็นดังเสาระเนียด สังวรเป็นดังนายประตู สติปัฏฐานเป็นดังป้อม ปัญญาเป็นดังทางสี่แพร่ง อิทธิบาทเป็นดังทางสามแพร่ง
พระวินัย พระสูตร พระอภิธรรม และพระพุทธพจน์อันมีองค์ ๙ ทั้งสิ้น เป็นดังธรรมสภา ในนครธรรมของพระองค์
ยาสำรอกของบุคคลบางพวก เป็นยาถ่ายของบุคคลบางพวก ยาพิษร้ายของบุคคลบางพวก เป็นยารักษาโรคของบุคคลบางพวก
ใคร ๆ เห็นผ้ากาสาวพัสด์อันเขาทิ้งไว้ที่หนทาง เปื้อนของไม่สะอาด เป็นธงชัยของฤาษี พึงประนม มือไหว้ เพราะพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมบริสุทธิ์ได้ด้วยธงชัยนั้น
๙. นิพพาน
พระอุบาลีเถระ ได้ช่วยพระศาสดาประกาศพระศาสนาในขณะที่พระองค์ยังทรงพระชนม์อยู่ และ หลังจากที่พระองค์ปรินิพพานแล้ว ก็ได้ร่วมทำสังคายนาครั้งแรก โดยเป็นผู้วิสัชชนาพระวินัย สุดท้ายได้นิพพาน ดังประทีปที่โชติช่วงชัชวาลเต็มที่แล้วค่อย ๆ มอดดับไป
พระอุบาลีเถระ นามเดิม อุบาลี เป็นนามที่ญาติทั้งหลายตั้งให้ หมายความว่า ประกอบด้วย กายและจิตใกล้ชิดกับกษัตริย์ทั้งหลาย เพราะออกไปบวชพร้อมกัน
บิดา และมารดาไม่ปรากฎนาม
เกิดในเรือนของช่างกัลบก ของศากยกษัตริย์ในนครกบิลพัสดุ์
๒. ชีวิตก่อนบวช
อุบาลีนั้น ครั้นเจริญวัยแล้วได้เป็นสหายรักแห่งกษัตริย์ทั้ง ๖ มีเจ้าอนุรุทธะเป็นต้น จึงได้รับ แต่งตั้งให้เป็นนายภูษามาลาประจำพระองค์
๓. การบวชในพระพุทธศาสนา
เมื่อพระศาสดาประทับอยู่ที่อนุปิยอัมพวันแห่งมัลลกษัตริย์ทั้งหลาย เมื่อพระโอรสของศากยกษัตริย์ทั้งหลายบวชกันเป็นจำนวนมาก เหล่าพระญาติเห็นศากยะ ๖ พระองค์เหล่านี้ คือ ภัททิยราชา อนุรุทธะ อานันทะ ภคุ กิมพิละ และเทวทัต ยังไม่ได้ออกบวช จึงสนทนากันว่า คนอื่นเขาให้ลูก ๆ บวชกัน คนจากตระกูลเรายังไม่ได้ออกบวชเลย เหมือนกับไม่ใช่ญาติของพระศาสดา ในที่สุดกษัตริย์ทั้ง ๖ จึงตัดสินพระทัยออกบวช โดยมีนายอุบาลีภูษามาลาตามเสด็จไปด้วย เมื่อเข้าสู่แว่นแคว้นกษัตริย์อื่น จึงให้นายอุบาลีกลับ นายอุบาลีกลับมาได้หน่อยหนึ่ง ได้ตัดสินใจบวชบ้าง แล้วได้ร่วมเดินทางไปกับ กษัตริย์ทั้ง ๖ นั้น จึงรวมเป็น ๗ คนด้วยกัน เข้าไปเฝ้าพระศาสดา ที่อนุปิยอัมพวัน กษัตริย์ทั้ง ๖ ได้กราบทูลว่า ของพระองค์โปรดบวชให้อุบาลีก่อน ข้าพระองค์ทั้งหลายจะได้ทำสามีจิกรรม มีการอภิวาทเป็นต้นแก่เขา วิธีนี้จะทำให้มานะของพวกข้าพระองค์ สร่างสิ้นไป พระศาสดาได้ทรงจัดการบวชให้พวกเขาตามประสงค์
๔. การบรรลุธรรม
พระอุบาลีเถระนั้น ครั้นบวชแล้ว เรียนกรรมฐานในสำนักพระศาสดาแล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์จงทรงอนุญาตให้ข้าพระองค์อยู่ป่า พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เมื่ออยู่ป่า ธุระอย่างเดียวเท่านั้นจักเจริญงอกงาม แต่เมื่ออยู่ในสำนักของเรา ทั้งวิปัสสนาธุระ และคันถธุระจะบริบูรณ์ พระอุบาลีนั้นรับพระดำรัสของพระศาสดาแล้ว กระทำวิปัสสนากรรมฐาน ไม่นานก็ได้บรรลุพระอรหัต
๕. งานประกาศพระพุทธศาสนา
พระศาสดาทรงสอนพระวินัยปิฎกทั้งสิ้นแก่พระอุบาลีนั้นด้วยพระองค์เอง ท่านจึงเป็นผู้ทรงจำ และชำนาญในพระวินัยปิฎก ครั้นพระศาสดาเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว ได้มีการทำสังคายนา พระธรรมวินัยครั้งแรกโดยมีพระมหากัสสปเถระเป็นประธาน พระสงฆ์ได้เลือกท่านเป็นผู้วิสัชชนา พระวินัยปิฎก ทำให้พระพุทธศาสนาดำรงมั่นคงมาจนถึงทุกวันนี้
๖. เอตทัคคะ
ดังได้กล่าวแล้วว่า พระอุบาลีเถระ ได้เรียนพระวินัยปิฎกทั้งหมดจากพระโอษฐ์ของพระศาสดา โดยตรง จึงมีความชำนาญในพระวินัย ท่านได้วินิจฉัยเรื่องภารุกัจฉะ เรื่องอัชชุกะ และเรื่องกุมารกัสสปะ ได้ถูกต้องตามธรรมวินัย เป็นเหตุให้พระศาสดาประทานสาธุการ และทรงถือเรื่องนั้นเป็นอัตถุปัตติเหตุ (เป็นต้นเรื่อง) แล้วทรงตั้งท่านไว้ในฐานะที่เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ผู้เป็นวินัยธร (ผู้ทรงพระวินัย)
๗. บุญญาธิการ
พระอุบาลีเถระนั้น ได้กระทำบุญญาธิการอันเป็นปัจจัยเกื้อกูลแก่พระนิพพานมานานแสนนาน จนกระทั่งถึงสมัยแห่งพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ ได้บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ อันสมบูรณ์ด้วยทรัพย์สมบัติ วันหนึ่งไปฟังธรรมของพระศาสดาได้เห็นพระศาสดาทรงตั้งภิกษุรูปหนึ่ง ไว้ในตำแหน่งที่เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ผู้ทรงพระวินัย ศรัทธา เลื่อมใส ปรารถนาฐานันดรนั้น จึงสร้างสมบุญกุศลตลอดมาหลายพุทธันดร สุดท้ายได้สมปรารถนาในพระศาสนาของพระสมณโคดม ศาสดาแห่งพุทธศาสนาในปัจจุบันนี้
๘. ธรรมวาทะ
ข้าแต่พระธีรเจ้า ในนครธรรมของพระองค์นั้นมีศีลเป็นดังกำแพง มีพระญาณเป็นดังซุ้มประตู ศรัทธาเป็นดังเสาระเนียด สังวรเป็นดังนายประตู สติปัฏฐานเป็นดังป้อม ปัญญาเป็นดังทางสี่แพร่ง อิทธิบาทเป็นดังทางสามแพร่ง
พระวินัย พระสูตร พระอภิธรรม และพระพุทธพจน์อันมีองค์ ๙ ทั้งสิ้น เป็นดังธรรมสภา ในนครธรรมของพระองค์
ยาสำรอกของบุคคลบางพวก เป็นยาถ่ายของบุคคลบางพวก ยาพิษร้ายของบุคคลบางพวก เป็นยารักษาโรคของบุคคลบางพวก
ใคร ๆ เห็นผ้ากาสาวพัสด์อันเขาทิ้งไว้ที่หนทาง เปื้อนของไม่สะอาด เป็นธงชัยของฤาษี พึงประนม มือไหว้ เพราะพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมบริสุทธิ์ได้ด้วยธงชัยนั้น
๙. นิพพาน
พระอุบาลีเถระ ได้ช่วยพระศาสดาประกาศพระศาสนาในขณะที่พระองค์ยังทรงพระชนม์อยู่ และ หลังจากที่พระองค์ปรินิพพานแล้ว ก็ได้ร่วมทำสังคายนาครั้งแรก โดยเป็นผู้วิสัชชนาพระวินัย สุดท้ายได้นิพพาน ดังประทีปที่โชติช่วงชัชวาลเต็มที่แล้วค่อย ๆ มอดดับไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น