๑. สถานะเดิม
พระมหากัสสปเถระ ชื่อเดิมว่า ปิปผลิ เป็นชื่อที่บิดาและมารดาตั้งให้ แต่มักเรียกกันตามโคตรว่า กัสสปะ
บิดาชื่อ กปิละ มารดาไม่ปรากฎชื่อ เป็นวรรณะพราหมณ์ตระกูลมหาศาล เชื้อสายกัสสปโคตร
ท่านเกิดที่หมู่บ้านพราหมณ์ ชื่อมหาติตถะ ตั้งอยู่ในเมืองราชคฤห์ ภายหลังพระมหาบุรุษเสด็จอุบัติ
๒. ชีวิตก่อนบวช
พระมหากัสสปเถระ เป็นลูกพราหมณ์มหาศาล บิดาและมารดาจึงต้องการผู้สืบเชื้อสายวงค์ตระกูล ได้จัดการให้แต่งงานกับหญิงสาวธิดาพราหมณ์มหาศาลเหมือนกัน ชื่อภัททกาปิลานี ในขณะท่านมีอายุได้ ๒๐ ปี นางภัททกาปิลานีมีอายุได้ ๑๖ ปี แต่เพราะทั้งคู่จุติมาจากพรหมโลก และบำเพ็ญเนกขัมมบารมีมา จึงไม่ยินดีเรื่องกามารมณ์ เห็นโทษของการครองเรือนว่า ต้องคอยเป็นผู้รับบาปจากการการะทำของผู้อื่น ในที่สุดทั้งสองได้ตัดสินใจออกบวชโดยยกทรัพย์สมบัติทั้งหมดให้แก่ญาติและบริวาร พวกเขาได้ไปซื้อผ้ากาสาวพัสตร์ และบาตรดินจากตลาด ต่างฝ่ายต่างปลงผม ให้แก่กันเสร็จแล้ว ครองผ้ากาสาวพัสตร์สะพายบาตร ลงจากปราสาทไปอย่างไม่มีความอาลัย
๓. การบวชในพระพุทธศาสนา
เมื่อปิปผลิและภัททกาปิลานีเดินทางไปด้วยกันได้ระยะหนึ่งแล้วปรึกษากันว่า การปฏิบัติเช่นนี้ ทำให้ ผู้พบเห็นติเตียนได้ เป็นการไม่สมควร จึงได้แยกทางกัน นางภัททกาปิลานีไปถึงสำนักนางภิกษุณีแห่งหนึ่ง แล้วบวชเป็นนางภิกษุณีภายหลังได้บรรลุพระอรหัตตผล
เมื่อทั้งสองคนแยกทางกัน พระศาสดาประทับอยู่ที่พระคันธกุฏี วัดเวฬุวัน ทรงทราบถึงเหตุนั้น จึงได้เสด็จไปประทับนั่งที่โคนต้นพหุปุตตนิโครธ ระหว่างเมืองราชคฤห์กับเมืองนาลันทา เพื่อรอรับการมาของเขา ต้นนิโครธนั้นมีลำต้นสีขาว ใบสีเขียว ผลสีแดง ปิปผลิเห็นพระองค์แล้วคิดว่า ท่านผู้นี้ จักเป็นศาสดาของเรา เราจักบวชอุทิศพระศาสดาองค์นี้ จึงน้อมตัวลงเดินเข้าไปหา ไหว้ ๓ ครั้ง แล้ว กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงเป็นศาสดาของข้าพระองค์ ข้าพระองค์เป็นสาวก พระศาสดาตรัสว่า กัสสปะ ถ้าเธอพึงทำความเคารพนับถือนี้แก่แผ่นดิน แผ่นดินนั้นก็ไม่สามารถจะรองรับได้ ความเคารพนับถืออันเธอผู้รู้ความที่ตถาคต เป็นผู้มีคุณมากอย่างนี้กระทำแล้ว ย่อมไม่ทำแม้ขนของเราให้ไหวได้ เธอจงนั่งลงเถิด กัสสปะ ตถาคตจะให้ทรัพย์มรดกแก่เธอ
๔. วิธีบวช
ลำดับนั้น พระศาสดาได้บวชให้ท่านด้วยทรงประทานโอวาท ๓ ข้อ คือ
๑. ดูก่อนกัสสปะ เธอพึงศึกษาว่า เราจักเข้าไปตั้งความละอาย และความเกรงใจในภิกษุทั้งที่เป็น เถระ ปานกลาง และบวชใหม่
๒. ธรรมใดเป็นกุศล เราจักเงี่ยโสตลงฟังธรรมนั้น พิจารณาเนื้อความนั้น (ของธรรมนั้น)
๓. เราจักไม่ทิ้งกายคตาสติ คือพิจารณาร่างกาย เป็นอารมณ์ (อยู่เสมอ)
วิธีบวชอย่างนี้เรียกว่า โอวาทปฏิคคณูปสัมปทา แปลว่า การบวชด้วยการรับโอวาท
ครั้นบวชให้ท่านเสร็จแล้ว พระศาสดาทรงให้ท่านเป็นปัจฉาสมณะเสด็จไปตามทางได้หน่อยหนึ่ง ทรงแวะข้างทาง แสดงอาการจะประทับนั่ง พระเถระทราบดังนั้น จึงปูผ้าสังฆาฏิอันเป็นแผ่นผ้าผืนเก่าของตน เป็น ๔ ชั้น ที่โคนต้นไม้แห่งหนึ่ง พระศาสดาประทับนั่งบนสังฆาฏินั้น เอาพระหัตถ์ลูบผ้าพลาง ตรัสว่า กัสสปะ สังฆาฏิอันเป็นแผ่นผ้าเก่าผืนนี้ของเธอ อ่อนนุ่ม พระเถระรู้ความประสงค์จึงกราบทูลว่า ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า จงทรงห่มผ้าสังฆาฏินี้เถิด พระเจ้าข้า แล้วเธอจะห่มผ้าอะไร พระศาสดาตรัสถาม พระเถระกราบทูลว่า เมื่อได้ผ้าสำหรับห่มของพระองค์ ข้าพระองค์จักห่มได้พระเจ้าข้า พระศาสดาได้ทรงประทานผ้าห่มของพระองค์แก่พระเถระ ๆ ได้ห่มผ้าของพระศาสดา มิได้ทำความถือตัวว่า เราได้จีวรเครื่องใช้สอยของพระพุทธเจ้า (ปฏปิโลติกสงฺฆาฏึ) แต่คิดว่า ตั้งแต่นี้ไปเราจะทำอะไรให้ดีกว่านี้อีก จึงได้สมาทานธุดงค์ ๑๓ ข้อ ในสำนักพระศาสดา หลังจากบวชได้ ๘ วัน ก็ได้บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา
๕. งานประกาศพระศาสนา
พระมหากัสสปเถระ เป็นพระสันโดษมักน้อย ถือธุดงค์เป็นวัตร ธุดงค์ ๓ ข้อ ที่ถืออยู่ตลอดชีวิต คือ ๑. ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ๒. เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ๓. อยู่ป่าเป็นวัตร การเผยแผ่พระพุทธศาสนา ของท่านจึงไปในทางเป็นแบบอย่างที่ดีของคนรุ่นหลังมากกว่าการแสดงธรรม ท่านได้แสดงคุณแห่งการถือธุดงค์ของท่านแก่พระศาสดา ๒ ประการคือ
๑. เป็นการอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน
๒. เพื่ออนุเคราะห์คนรุ่นหลัง จะได้ถือปฏิบัติตาม
พระศาสดาทรงประทานสาธุการแก่ท่าน แล้วตรัสว่า เธอได้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์และความสุขแก่ตนแก่ชนเป็นอันมาก ทรงสรรเสริญท่านว่า เป็นผู้มักน้อย สันโดษ ตรัสสอนภิกษุทั้งหลายให้ถือเป็นแบบอย่าง ดังนี้
๑. กัสสปะ เข้าไปสู่ตระกูล ชักกายและใจออกห่างประพฤติตนเป็นคนใหม่ ไม่คุ้นเคยอยู่เป็นนิตย์ ไม่คะนองกายวาจาใจ จิตไม่ข้องอยู่ในสกุลนั้น เพิกเฉย ตั้งจิตเป็นกลางว่า ผู้ใคร่ลาภจงได้ลาภ ผู้ใคร่บุญ จงได้บุญ ตนได้ลาภมีใจฉันใด ผู้อื่นก็มีใจฉันนั้น
๒. กัสสปะ มีจิตประกอบด้วยเมตตา แสดงธรรมแก่ผู้อื่น
๓. ทรงสั่งสอนภิกษุให้ประพฤติดีประพฤติชอบ โดยยกท่านพระมหากัสสปะเป็นตัวอย่าง
แต่งานประกาศพระศาสนาที่สำคัญที่สุดของพระมหากัสสปเถระ คือ เป็นประธานการทำสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งแรก เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว ท่านได้ปรารภถ้อยคำ ของสุภัททวุฑฒบรรพชิตกล่าวกับภิกษุทั้งหลายว่า พวกเราพ้นพันธนาการจากพระสมณโคดมแล้ว ต่อจากนี้ไป อยากทำอะไรก็ทำ ไม่อยากทำก็ไม่ต้องทำ หลังจากถวายพระเพลิงพระบรมศพของพระพุทธเจ้าแล้ว ท่านได้แจ้งเรื่องนั้นให้พระสงฆ์ทราบ แล้วตกลงกันว่าต้องสังคายนาพระธรรมวินัย เพราะเป็นวิธีที่ดีที่สุดอันจะทำให้พระศาสนาดำรงมั่นคงอยู่ได้ชั่วกาลนาน พระสงฆ์ได้มอบให้ท่านเป็นประธานคัดเลือกพระภิกษุผู้จะเข้าร่วมสังคายนา ท่านคัดเลือกพระอรหันต์ ๔๙๙ รูป ล้วนแต่บรรลุอภิญญา ๖ และปฏิสัมภิทา ๔ จากนั้นได้เดินทางไปยังถ้ำสัตตบรรณคูหาข้างภูเขาเวภาระ โดยได้รับราชูปถัมภ์จากพระเจ้าอชาตศัตรูแห่งแคว้นมคธ ปฐมสังคายนานี้ มีความสำคัญมากได้ช่วยรักษาคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้ดำรงมั่นคงมาจวบถึงทุกวันนี้
๖. เอตทัคคะ
พระมหากัสสปเถระ ได้รับการสรรเสริญจากพระศาสดาเป็นต้นว่า เปรียบเสมือนด้วยพระจันทร์ เข้าไปยังตระกูลทั้งหลายไม่คะนองกาย ไม่คะนองจิต เป็นผู้ใหม่อยู่เป็นนิตย์ ไม่เย่อหยิ่ง วันหนึ่ง เมื่อประทับนั่ง ในท่ามกลางหมู่พระอริยเจ้า ทรงตั้งพระเถระไว้ในตำแหน่งผู้เลิศแห่งภิกษุทั้งหลาย ผู้ทรงธุดงค์และกล่าวสอนธุดงค์ว่า ภิกษุทั้งหลาย กัสสปะนี้ เป็นผู้เลิศแห่งภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้ทรงธุดงค์และกล่าวสอนธุดงค์
๗. บุญญาธิการ
นับย้อนหลังไปแสนกัปป์แต่กัปป์นี้ พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ ได้เสด็จอุบัติในโลก พระมหากัสสปเถระนี้ได้เกิดเป็นกุฎุมพีนามว่า เวเทหะ ในพระนครหังสวดีนับถือรัตนตรัยได้เห็น พระสาวกผู้เลิศทางธุดงค์นามว่า มหานิสภเถระ เลื่อมใสในปฏิปทาของท่าน จึงนิมนต์พระปทุมุตตรพุทธเจ้า พร้อมพระสงฆ์มาถวายภัตตาหาร แล้วตั้งความปรารถนาตำแหน่งนั้น พระพุทธเจ้าทรงตรวจดูด้วยพุทธญาณเห็นว่า ความปรารถนาของเขาจะสำเร็จแน่นอน จึงทรงพยากรณ์ว่า ในอนาคตกาลประมารแสนกัปป์พระพุทธเจ้า พระนามว่าโคดม จักอุบัติขึ้น ท่านจักเป็นสาวกที่ ๓ ของพระพุทธเจ้านั้น มีชื่อว่า มหากัสสปเถระ อุบาสกนั้น ได้ฟังคำนั้นแล้ว รู้สึกเหมือนว่าสมบัตินั้น ตนเองจะได้ในวันพรุ่งนี้ ได้กระทำบุญกรรมต่าง ๆ มาตลอดหลายพุทธันดร ในชาติสุดท้ายได้มาเกิดเป็นพระมหากัสสปเถระตามคำพยากรณ์ทุกประการ
๘. ธรรมวาทะ
ดูก่อนนางเทพธิดา เธอจงหลีกไป เธออย่าทำให้เราต้องถูกพระธรรมกถึกทั้งหลายในภายหน้า นั่งถือพัดอันวิจิตรพูดว่า เขาว่า นางเทพธิดาผู้หนึ่ง มาทำวัตรปฏิบัติ เข้าไปตั้งน้ำฉันน้ำใช้ถวายพระมหากัสสปเถระ ตั้งแต่นี้ไปเธออย่ามา ณ ที่นี้อีก จงกลับไปเสีย
ผู้ใดไม่มีความเคารพในเพื่อนพรหมจรรย์ ผู้นั้นย่อมอยู่ห่างพระสัทธรรม เหมือนแผ่นดินที่อยู่ห่างจากฟ้า
ผู้ที่มีหิริและโอตตัปปะประจำใจตลอดเวลา ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมงอกงาม ภพใหม่ย่อมไม่มี
ภิกษุผู้ฟุ้งซ่านง่อนแง่น ถึงจะห่มผ้าบังสุกุลก็ไม่งาม ไม่ต่างจากลิงห่มหนังเสือ
ภิกษุผู้ไม่ฟุ้งซ่านมั่นคง มีปัญญา สำรวมอินทรีย์ห่มผ้าบังสุกุล ย่อมงามเหมือนราชสีห์ บนยอดขุนเขา
๙. นิพพาน
พระมหากัสสปเถระ เมื่อทำสังคายนาพระธรรมวินัยเรียบร้อยแล้ว ได้จำพรรษาอยู่ที่เวฬุวนาราม มีอายุประมาณ ๑๒๐ ปี จึงนิพพาน ณ ระหว่างกลางกุกกุฏสัมปาตบรรพตทั้ง ๓ ลูก ในกรุงราชคฤห์
พระมหากัสสปเถระ ชื่อเดิมว่า ปิปผลิ เป็นชื่อที่บิดาและมารดาตั้งให้ แต่มักเรียกกันตามโคตรว่า กัสสปะ
บิดาชื่อ กปิละ มารดาไม่ปรากฎชื่อ เป็นวรรณะพราหมณ์ตระกูลมหาศาล เชื้อสายกัสสปโคตร
ท่านเกิดที่หมู่บ้านพราหมณ์ ชื่อมหาติตถะ ตั้งอยู่ในเมืองราชคฤห์ ภายหลังพระมหาบุรุษเสด็จอุบัติ
๒. ชีวิตก่อนบวช
พระมหากัสสปเถระ เป็นลูกพราหมณ์มหาศาล บิดาและมารดาจึงต้องการผู้สืบเชื้อสายวงค์ตระกูล ได้จัดการให้แต่งงานกับหญิงสาวธิดาพราหมณ์มหาศาลเหมือนกัน ชื่อภัททกาปิลานี ในขณะท่านมีอายุได้ ๒๐ ปี นางภัททกาปิลานีมีอายุได้ ๑๖ ปี แต่เพราะทั้งคู่จุติมาจากพรหมโลก และบำเพ็ญเนกขัมมบารมีมา จึงไม่ยินดีเรื่องกามารมณ์ เห็นโทษของการครองเรือนว่า ต้องคอยเป็นผู้รับบาปจากการการะทำของผู้อื่น ในที่สุดทั้งสองได้ตัดสินใจออกบวชโดยยกทรัพย์สมบัติทั้งหมดให้แก่ญาติและบริวาร พวกเขาได้ไปซื้อผ้ากาสาวพัสตร์ และบาตรดินจากตลาด ต่างฝ่ายต่างปลงผม ให้แก่กันเสร็จแล้ว ครองผ้ากาสาวพัสตร์สะพายบาตร ลงจากปราสาทไปอย่างไม่มีความอาลัย
๓. การบวชในพระพุทธศาสนา
เมื่อปิปผลิและภัททกาปิลานีเดินทางไปด้วยกันได้ระยะหนึ่งแล้วปรึกษากันว่า การปฏิบัติเช่นนี้ ทำให้ ผู้พบเห็นติเตียนได้ เป็นการไม่สมควร จึงได้แยกทางกัน นางภัททกาปิลานีไปถึงสำนักนางภิกษุณีแห่งหนึ่ง แล้วบวชเป็นนางภิกษุณีภายหลังได้บรรลุพระอรหัตตผล
เมื่อทั้งสองคนแยกทางกัน พระศาสดาประทับอยู่ที่พระคันธกุฏี วัดเวฬุวัน ทรงทราบถึงเหตุนั้น จึงได้เสด็จไปประทับนั่งที่โคนต้นพหุปุตตนิโครธ ระหว่างเมืองราชคฤห์กับเมืองนาลันทา เพื่อรอรับการมาของเขา ต้นนิโครธนั้นมีลำต้นสีขาว ใบสีเขียว ผลสีแดง ปิปผลิเห็นพระองค์แล้วคิดว่า ท่านผู้นี้ จักเป็นศาสดาของเรา เราจักบวชอุทิศพระศาสดาองค์นี้ จึงน้อมตัวลงเดินเข้าไปหา ไหว้ ๓ ครั้ง แล้ว กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงเป็นศาสดาของข้าพระองค์ ข้าพระองค์เป็นสาวก พระศาสดาตรัสว่า กัสสปะ ถ้าเธอพึงทำความเคารพนับถือนี้แก่แผ่นดิน แผ่นดินนั้นก็ไม่สามารถจะรองรับได้ ความเคารพนับถืออันเธอผู้รู้ความที่ตถาคต เป็นผู้มีคุณมากอย่างนี้กระทำแล้ว ย่อมไม่ทำแม้ขนของเราให้ไหวได้ เธอจงนั่งลงเถิด กัสสปะ ตถาคตจะให้ทรัพย์มรดกแก่เธอ
๔. วิธีบวช
ลำดับนั้น พระศาสดาได้บวชให้ท่านด้วยทรงประทานโอวาท ๓ ข้อ คือ
๑. ดูก่อนกัสสปะ เธอพึงศึกษาว่า เราจักเข้าไปตั้งความละอาย และความเกรงใจในภิกษุทั้งที่เป็น เถระ ปานกลาง และบวชใหม่
๒. ธรรมใดเป็นกุศล เราจักเงี่ยโสตลงฟังธรรมนั้น พิจารณาเนื้อความนั้น (ของธรรมนั้น)
๓. เราจักไม่ทิ้งกายคตาสติ คือพิจารณาร่างกาย เป็นอารมณ์ (อยู่เสมอ)
วิธีบวชอย่างนี้เรียกว่า โอวาทปฏิคคณูปสัมปทา แปลว่า การบวชด้วยการรับโอวาท
ครั้นบวชให้ท่านเสร็จแล้ว พระศาสดาทรงให้ท่านเป็นปัจฉาสมณะเสด็จไปตามทางได้หน่อยหนึ่ง ทรงแวะข้างทาง แสดงอาการจะประทับนั่ง พระเถระทราบดังนั้น จึงปูผ้าสังฆาฏิอันเป็นแผ่นผ้าผืนเก่าของตน เป็น ๔ ชั้น ที่โคนต้นไม้แห่งหนึ่ง พระศาสดาประทับนั่งบนสังฆาฏินั้น เอาพระหัตถ์ลูบผ้าพลาง ตรัสว่า กัสสปะ สังฆาฏิอันเป็นแผ่นผ้าเก่าผืนนี้ของเธอ อ่อนนุ่ม พระเถระรู้ความประสงค์จึงกราบทูลว่า ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า จงทรงห่มผ้าสังฆาฏินี้เถิด พระเจ้าข้า แล้วเธอจะห่มผ้าอะไร พระศาสดาตรัสถาม พระเถระกราบทูลว่า เมื่อได้ผ้าสำหรับห่มของพระองค์ ข้าพระองค์จักห่มได้พระเจ้าข้า พระศาสดาได้ทรงประทานผ้าห่มของพระองค์แก่พระเถระ ๆ ได้ห่มผ้าของพระศาสดา มิได้ทำความถือตัวว่า เราได้จีวรเครื่องใช้สอยของพระพุทธเจ้า (ปฏปิโลติกสงฺฆาฏึ) แต่คิดว่า ตั้งแต่นี้ไปเราจะทำอะไรให้ดีกว่านี้อีก จึงได้สมาทานธุดงค์ ๑๓ ข้อ ในสำนักพระศาสดา หลังจากบวชได้ ๘ วัน ก็ได้บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา
๕. งานประกาศพระศาสนา
พระมหากัสสปเถระ เป็นพระสันโดษมักน้อย ถือธุดงค์เป็นวัตร ธุดงค์ ๓ ข้อ ที่ถืออยู่ตลอดชีวิต คือ ๑. ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ๒. เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ๓. อยู่ป่าเป็นวัตร การเผยแผ่พระพุทธศาสนา ของท่านจึงไปในทางเป็นแบบอย่างที่ดีของคนรุ่นหลังมากกว่าการแสดงธรรม ท่านได้แสดงคุณแห่งการถือธุดงค์ของท่านแก่พระศาสดา ๒ ประการคือ
๑. เป็นการอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน
๒. เพื่ออนุเคราะห์คนรุ่นหลัง จะได้ถือปฏิบัติตาม
พระศาสดาทรงประทานสาธุการแก่ท่าน แล้วตรัสว่า เธอได้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์และความสุขแก่ตนแก่ชนเป็นอันมาก ทรงสรรเสริญท่านว่า เป็นผู้มักน้อย สันโดษ ตรัสสอนภิกษุทั้งหลายให้ถือเป็นแบบอย่าง ดังนี้
๑. กัสสปะ เข้าไปสู่ตระกูล ชักกายและใจออกห่างประพฤติตนเป็นคนใหม่ ไม่คุ้นเคยอยู่เป็นนิตย์ ไม่คะนองกายวาจาใจ จิตไม่ข้องอยู่ในสกุลนั้น เพิกเฉย ตั้งจิตเป็นกลางว่า ผู้ใคร่ลาภจงได้ลาภ ผู้ใคร่บุญ จงได้บุญ ตนได้ลาภมีใจฉันใด ผู้อื่นก็มีใจฉันนั้น
๒. กัสสปะ มีจิตประกอบด้วยเมตตา แสดงธรรมแก่ผู้อื่น
๓. ทรงสั่งสอนภิกษุให้ประพฤติดีประพฤติชอบ โดยยกท่านพระมหากัสสปะเป็นตัวอย่าง
แต่งานประกาศพระศาสนาที่สำคัญที่สุดของพระมหากัสสปเถระ คือ เป็นประธานการทำสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งแรก เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว ท่านได้ปรารภถ้อยคำ ของสุภัททวุฑฒบรรพชิตกล่าวกับภิกษุทั้งหลายว่า พวกเราพ้นพันธนาการจากพระสมณโคดมแล้ว ต่อจากนี้ไป อยากทำอะไรก็ทำ ไม่อยากทำก็ไม่ต้องทำ หลังจากถวายพระเพลิงพระบรมศพของพระพุทธเจ้าแล้ว ท่านได้แจ้งเรื่องนั้นให้พระสงฆ์ทราบ แล้วตกลงกันว่าต้องสังคายนาพระธรรมวินัย เพราะเป็นวิธีที่ดีที่สุดอันจะทำให้พระศาสนาดำรงมั่นคงอยู่ได้ชั่วกาลนาน พระสงฆ์ได้มอบให้ท่านเป็นประธานคัดเลือกพระภิกษุผู้จะเข้าร่วมสังคายนา ท่านคัดเลือกพระอรหันต์ ๔๙๙ รูป ล้วนแต่บรรลุอภิญญา ๖ และปฏิสัมภิทา ๔ จากนั้นได้เดินทางไปยังถ้ำสัตตบรรณคูหาข้างภูเขาเวภาระ โดยได้รับราชูปถัมภ์จากพระเจ้าอชาตศัตรูแห่งแคว้นมคธ ปฐมสังคายนานี้ มีความสำคัญมากได้ช่วยรักษาคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้ดำรงมั่นคงมาจวบถึงทุกวันนี้
๖. เอตทัคคะ
พระมหากัสสปเถระ ได้รับการสรรเสริญจากพระศาสดาเป็นต้นว่า เปรียบเสมือนด้วยพระจันทร์ เข้าไปยังตระกูลทั้งหลายไม่คะนองกาย ไม่คะนองจิต เป็นผู้ใหม่อยู่เป็นนิตย์ ไม่เย่อหยิ่ง วันหนึ่ง เมื่อประทับนั่ง ในท่ามกลางหมู่พระอริยเจ้า ทรงตั้งพระเถระไว้ในตำแหน่งผู้เลิศแห่งภิกษุทั้งหลาย ผู้ทรงธุดงค์และกล่าวสอนธุดงค์ว่า ภิกษุทั้งหลาย กัสสปะนี้ เป็นผู้เลิศแห่งภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้ทรงธุดงค์และกล่าวสอนธุดงค์
๗. บุญญาธิการ
นับย้อนหลังไปแสนกัปป์แต่กัปป์นี้ พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ ได้เสด็จอุบัติในโลก พระมหากัสสปเถระนี้ได้เกิดเป็นกุฎุมพีนามว่า เวเทหะ ในพระนครหังสวดีนับถือรัตนตรัยได้เห็น พระสาวกผู้เลิศทางธุดงค์นามว่า มหานิสภเถระ เลื่อมใสในปฏิปทาของท่าน จึงนิมนต์พระปทุมุตตรพุทธเจ้า พร้อมพระสงฆ์มาถวายภัตตาหาร แล้วตั้งความปรารถนาตำแหน่งนั้น พระพุทธเจ้าทรงตรวจดูด้วยพุทธญาณเห็นว่า ความปรารถนาของเขาจะสำเร็จแน่นอน จึงทรงพยากรณ์ว่า ในอนาคตกาลประมารแสนกัปป์พระพุทธเจ้า พระนามว่าโคดม จักอุบัติขึ้น ท่านจักเป็นสาวกที่ ๓ ของพระพุทธเจ้านั้น มีชื่อว่า มหากัสสปเถระ อุบาสกนั้น ได้ฟังคำนั้นแล้ว รู้สึกเหมือนว่าสมบัตินั้น ตนเองจะได้ในวันพรุ่งนี้ ได้กระทำบุญกรรมต่าง ๆ มาตลอดหลายพุทธันดร ในชาติสุดท้ายได้มาเกิดเป็นพระมหากัสสปเถระตามคำพยากรณ์ทุกประการ
๘. ธรรมวาทะ
ดูก่อนนางเทพธิดา เธอจงหลีกไป เธออย่าทำให้เราต้องถูกพระธรรมกถึกทั้งหลายในภายหน้า นั่งถือพัดอันวิจิตรพูดว่า เขาว่า นางเทพธิดาผู้หนึ่ง มาทำวัตรปฏิบัติ เข้าไปตั้งน้ำฉันน้ำใช้ถวายพระมหากัสสปเถระ ตั้งแต่นี้ไปเธออย่ามา ณ ที่นี้อีก จงกลับไปเสีย
ผู้ใดไม่มีความเคารพในเพื่อนพรหมจรรย์ ผู้นั้นย่อมอยู่ห่างพระสัทธรรม เหมือนแผ่นดินที่อยู่ห่างจากฟ้า
ผู้ที่มีหิริและโอตตัปปะประจำใจตลอดเวลา ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมงอกงาม ภพใหม่ย่อมไม่มี
ภิกษุผู้ฟุ้งซ่านง่อนแง่น ถึงจะห่มผ้าบังสุกุลก็ไม่งาม ไม่ต่างจากลิงห่มหนังเสือ
ภิกษุผู้ไม่ฟุ้งซ่านมั่นคง มีปัญญา สำรวมอินทรีย์ห่มผ้าบังสุกุล ย่อมงามเหมือนราชสีห์ บนยอดขุนเขา
๙. นิพพาน
พระมหากัสสปเถระ เมื่อทำสังคายนาพระธรรมวินัยเรียบร้อยแล้ว ได้จำพรรษาอยู่ที่เวฬุวนาราม มีอายุประมาณ ๑๒๐ ปี จึงนิพพาน ณ ระหว่างกลางกุกกุฏสัมปาตบรรพตทั้ง ๓ ลูก ในกรุงราชคฤห์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น